หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้กำหนดปรัชญาหลักสูตร ให้เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของสภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered approach) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเภสัชกรรมชุมชน เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวมตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ โดยตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้คน ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อการแก้ไขโจทย์ปัญหาด้านสุขภาพ โดยบูรณาการองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับการค้นคว้าข้อมูลเทคโนโลยีด้านสุขภาพสมัยใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัจจัยด้านต่าง ๆ ของชุมชนอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้เกิดการใฝ่รู้เพื่อพัฒนาตัวเองตลอดชีวิต มีความสอดคล้องกับหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และฝึกการทำงานร่วมกัน เพื่อการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ (Multiprofessional healthcare team) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : เภสัชศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Doctor of Pharmacy

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย : เภสัชศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Doctor of Pharmacy

รายละเอียดหลักสูตร

1. เภสัชกรประจำหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดของรัฐ เช่น โรงพยาบาล ร้านยาและหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตยา ชีววัตถุและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม เป็นต้น) หน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานด้านการแพทย์แผนไทย

2. เภสัชกรประจำหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดของเอกชน เช่น โรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยาในประเทศ บริษัทยาต่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตและการขึ้นทะเบียนยา ชีววัตถุ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง

3. นักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัย

4. นักวิจัยในหน่วยงานของเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัยทางคลินิก ศูนย์วิจัยและห้องปฏิบัติการชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล บริษัทยาในประเทศ บริษัทยาต่างประเทศ 

5. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาในสังกัดของรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 

6. ตำแหน่งอื่น ๆ ที่รับผิดชอบในด้านการควบคุมคุณภาพยา การประกันคุณภาพการผลิตยา การประกันคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ การประกันคุณภาพการวิจัยทางคลินิก การพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับยาภายในประเทศและเพื่อการส่งออก การพัฒนาธุรกิจเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศและเพื่อการส่งออก การวิเคราะห์ต้นทุนและการลงทุนของธุรกิจยาในประเทศและต่างประเทศ การบริหารจัดการด้านเศรษฐศาสตร์และความคุ้มทุนของธุรกิจยาในประเทศและต่างประเทศ เภสัชกรด้านการตลาด

1. สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้จากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
2. สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการศึกษาวุฒิบัตร/อนุมัติบัตร ประกาศนียบัตรเพิ่มเติมในหัวข้อเฉพาะเรื่อง ได้จากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 30,400 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 547,200 บาท

จำนวนหน่วยวิชา รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 78 หน่วยวิชา 
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) 10 หน่วยวิชา 
 กลุ่มวิชาภาษา (ภาษาอังกฤษและภาษาไทย)4 หน่วยวิชา
 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์3 หน่วยวิชา
 กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ0.5 หน่วยวิชา
 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์1 หน่วยวิชา
 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ1.5 หน่วยวิชา
2. หมวดวิชาเฉพาะ (Specialized Education) 66 หน่วยวิชา 
 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 15.5 หน่วยวิชา 
 1. รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน8 หน่วยวิชา
 2. รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ7.5 หน่วยวิชา
 กลุ่มวิชาชีพ 29 หน่วยวิชา 
 
1. รายวิชาด้านเภสัชศาสตร์
 11 หน่วยวิชา
 
2. รายวิชาด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม
 11.5 หน่วยวิชา
 
3. รายวิชาด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
 5.5 หน่วยวิชา
 
4. รายวิชาโครงการพิเศษ
 1 หน่วยวิชา
 
กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยวิชา
  
 
กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ 12.5 หน่วยวิชา
  
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยวิชา