หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต (2567)

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นผลิตเภสัชกรที่มีความโดดเด่นทางด้านทักษะเภสัชกรรมชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาทางด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเภสัชกรรมบนพื้นฐานแนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ (The United Kingdom Professional Standards Framework; UKPSF) ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการให้ความสำคัญกับผู้เรียนรายบุคคล

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : เภสัชศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Doctor of Pharmacy

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย : เภสัชศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Doctor of Pharmacy

รายละเอียดหลักสูตร

1. เภสัชกรประจำหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดของรัฐ เช่น โรงพยาบาล ร้านยาและหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตยา ชีววัตถุและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม เป็นต้น) หน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานด้านการแพทย์แผนไทย

2. เภสัชกรประจำหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดของเอกชน เช่น โรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยาในประเทศ บริษัทยาต่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตและการขึ้นทะเบียนยา ชีววัตถุ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง

3. นักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัย

4. นักวิจัยในหน่วยงานของเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัยทางคลินิก ศูนย์วิจัยและห้องปฏิบัติการชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล บริษัทยาในประเทศ บริษัทยาต่างประเทศ 

5. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาในสังกัดของรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 

6. ตำแหน่งอื่น ๆ ที่รับผิดชอบในด้านการควบคุมคุณภาพยา การประกันคุณภาพการผลิตยา การประกันคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ การประกันคุณภาพการวิจัยทางคลินิก การพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับยาภายในประเทศและเพื่อการส่งออก การพัฒนาธุรกิจเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศและเพื่อการส่งออก การวิเคราะห์ต้นทุนและการลงทุนของธุรกิจยาในประเทศและต่างประเทศ การบริหารจัดการด้านเศรษฐศาสตร์และความคุ้มทุนของธุรกิจยาในประเทศและต่างประเทศ เภสัชกรด้านการตลาด

1. สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้จากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
2. สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการศึกษาวุฒิบัตร/อนุมัติบัตร ประกาศนียบัตรเพิ่มเติมในหัวข้อเฉพาะเรื่อง ได้จากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ผลิตเภสัชกรที่มีความโดดเด่นด้านทักษะเภสัชกรรมชุมชน สามารถบูรณาการความรู้ผ่านการวิจัย สู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาทางด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้มีสมรรถนะ 4 ด้านดังนี้

1) ด้านความรู้ (Knowledge)
PLO1: อธิบายและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั่วไป
ความรู้ด้านพื้นฐานวิชาชีพและความรู้ทางวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ทางวิชาชีพเภสัชกรรม ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม
PLO2: วิเคราะห์และประเมินด้วยความรู้ทางวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
PLO3: อธิบายและประยุกต์ใช้ความรู้ในการวางแผน การจัดการความเสี่ยง
การจัดการทางการเงินและการตลาด เพื่อสนับสนุนทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
PLO4: อธิบายและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการใช้ยาตามแนวทางปฏิบัติการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ของกระทรวงสาธารณสุข
PLO5: วิเคราะห์สถานการณ์ทั้งด้านกระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์หรือการบริการด้านเภสัชกรรม
PLO6: สังเคราะห์วิธีการจัดการปัญหา ด้านกระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์หรือ
การบริการด้านเภสัชกรรม

2) ด้านทักษะ (Skills)
PLO7: ปฏิบัติงานทางวิชาชีพเภสัชกรรมตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม
PLO8: ออกแบบการจัดการปัญหาสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน
PLO9: พัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถค้นคว้า เลือกใช้ฐานข้อมูลทางยา
เภสัชตำรับ เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือทางสถิติในการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรมและการให้บริการทางเภสัชกรรมได้ถูกต้องตามเกณฑ์สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
PLO10: สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานด้าน
เภสัชกรรม ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนและเสนอผลงานได้ตามวัตถุประสงค์ ในกรณีที่นักศึกษาเลือกภาษาจีน สามารถสื่อสารภาษาจีนในชีวิตประจำวันได้
PLO11: ออกแบบการจัดการสุขภาพด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อคนและสิ่งแวดล้อม
PLO12:
แก้ไขปัญหาด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านการทำวิจัยทางเภสัชกรรม โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการปัญหาด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3) ด้านจริยธรรม (Ethics)
PLO13: ปฎิบัติตนตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2538 และฉบับที่
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. 2546)

4) ด้านลักษณะบุคคล (Character)
PLO14: บุคลิกน่าเชื่อถือ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบ
PLO15: แสดงออกถึงการมีวินัย มีภาวะผู้นำสามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มี
จิตอาสา

หมวดวิชา

หน่วยกิตของหลักสูตรปรับปรุง  ปีการศึกษา 2567

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

26*

โดยเลือก ภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

-กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ

-กลุ่มวิชาชีพ

-การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ

184 

26

124

34

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6 

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

216

ในแต่ละปีการศึกษาเปิดรับนักศึกษาปีละ 100-110 คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา XXXXX บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร XXXXX บาท

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1) เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเภสัชกรรม

2) เป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในอนาคต

3) เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะไปปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ

4) เป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพสมบูรณ์ กล่าวคือ ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถ และจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบอาชีพ

5) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี ระบบทวิภาค พ.ศ. 2566

  • ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดกรอบคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)
  • กรอบแนวคิด The UK Professional Standards Framework (UKPSF)
  • การประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (Formative assessment)
  • จัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning): case-based learning, experiential learning jigsaw method, problem-based learning, small group discussion, workplace-based learning เป็นต้น
  • การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษสำหรับรายวิชาในหลักสูตร ตามนโยบายสร้างความเข้มแข็งด้านภาษาอังกฤษ