ประวัติความเป็นมา

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเป็นอุทยานการศึกษา “เฉลิมพระเกียรติ”    เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชในวโรกาสฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี “กาญจนาภิเษก” ที่จัดให้มีองค์ประกอบของอุทยานเป็น 11 อุทยาน ประกอบด้วย อุทยาน เทอดพระเกียรติ อุทยานสัมมนาและสาธิต  อุทยานไทยทักษิณ อุทยานธรรมนิทัศน์ เขตการศึกษา อุทยานพฤกษศาสตร์  วนอุทยาน อุทยานโบราณคดี อุทยานสิ่งแวดล้อม และอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในเขตการศึกษานั้นมี “ศูนย์การแพทย์” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ด้วยศูนย์การแพทย์นี้จะเป็นแหล่งให้การศึกษาวิชาชีพเฉพาะแก่นักศึกษาแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์  เภสัชศาสตร์ กายภาพบำบัดและอื่นๆ และยังกำหนดให้บริการและวิจัยทางการแพทย์ด้วย ประกอบกับความต้องการของชาวนครศรีธรรมราชที่จะให้สำนักวิชาแพทยศาสตร์ และสำนักวิชา/หลักสูตรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาระบบสุขภาพ” ขึ้น (โดยร่วมกับประชาชนและจังหวัดนครศรีธรรมราช) โครงการดังกล่าวนี้จะเป็นการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่

          1) การผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ (ให้กระทรวงสาธารสุข) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลระดับต่างๆ ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนที่มีอยู่แล้วในจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การส่วนบริหารตำบล
          2) เพื่อกระจายบุคลากรเหล่านี้ลงในพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง (โดยบัณฑิตใช้ทุนซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. และ อบต.)
          3) เพื่อวิจัยศึกษากระบวนการบริการสุขภาพต้นแบบในระดับปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ที่อื่นได้ด้วย

          ดังนั้นการจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพนี่จะเน้นการพัฒนาในจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบนก่อน โดยมีการจัดโครงสร้างขององค์กรในการบริหารจัดการโครงการ เพื่อประสานงานแบบองค์รวมในลักษณะ “วิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ” และองค์กรดำเนินการเป็น “สำนักวิชาใหม่” และสำนักวิชาเดิม และ “สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ที่เชื่อมโยงกับองค์กรหลักที่มีอยู่แล้วได้แก่สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนา

         โครงการดังกล่าวนี้จะทำการผลิตและกระจายแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ขาดแคลนและกระจายลงในพื้นที่ที่ต้องการบุคลากรเหล่านี้อย่างทั่วถึงในจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน พร้อมกันนี้ก็จะศึกษาวิจัยรูปแบบการบริหารสุขภาพแก่ชุมชนในระดับรากหญ้า (ปฐมภูมิ) ให้มีประสิทธิภาพจนสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในพื้นที่อื่นได้โดยที่ประชุมคณะกรรมการวิทยาการสุขภาพในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ที่ประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 เวลา 13.00 น. ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2548 เวลา 09.00 ณ ห้องโมคลานชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาระบบสุขภาพของมหาวิทยาลัย และโครงสร้างองค์กรซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสำนักวิชาใหม่ (สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์)

          โครงการดังกล่าวนี้จะทำการผลิตและกระจายแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ขาดแคลนและกระจายลงในพื้นที่ที่ต้องการบุคลากรเหล่านี้อย่างทั่วถึงในจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน พร้อมกันนี้ก็จะศึกษาวิจัยรูปแบบการบริหารสุขภาพแก่ชุมชนในระดับรากหญ้า (ปฐมภูมิ) ให้มีประสิทธิภาพจนสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในพื้นที่อื่นได้
          โดยที่ประชุมคณะกรรมการวิทยาการสุขภาพในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ที่ประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 เวลา 13.00 น. ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2548 เวลา 09.00 ณ ห้องโมคลานชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาระบบสุขภาพของมหาวิทยาลัย และโครงสร้างองค์กรซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสำนักวิชาใหม่ (สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์)

            มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสำนักวิชาใหม่เพิ่มเติม และได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรเภสัชบัณฑิตตามคำสั่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ 202/2548  เพื่อทำหน้าที่จัดทำและพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549  ซึ่งประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้

  • นายแพทย์ยุทธนา ศิลปรัสมีที่ปรึกษา
  • รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต               ที่ปรึกษา
  • ศ.ดร.สมพล ประคองพันธ์                ประธานกรรมการ
  • รศ.ดร.พาลาภ สิงหเสนี                   กรรมการ
  • รศ.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสงข์                กรรมการ
  • ผศ.ดร.อรุณพร อิฐรัตน์                  กรรมการ
  • รศ.ดร.เพชรัตน์ พงษ์เจริญสุข           กรรมการ
  • ศ.ดร.ธีระยุทธ กลิ่นสุคนธ์                 กรรมการ
  • รศ.ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา               กรรมการ
  • 10.ผศ. ดร.มารวย เมฆานวกุล           กรรมการ
  • 11.รศ.ดร.ทวีพร  สิทธิราชา               กรรมการและเลขานุการ
  • นางสาวพรพิมล ปัญญา                 ผู้ช่วยเลขานุการ

              โดยหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) และโครงการจัดตั้งสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ได้ผ่านการพิจารณาจากสภาวิชาการ ครั้งที่ 10/2548  เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2548

          โดยคณะทำงานได้จัดทำการศึกษาวิจัยการขอเปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 9 และศึกษาข้อมูลรายละเอียดของเภสัชกรคู่สัญญา เพิ่มเติมเพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต่อไป โดยหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ 2549) และโครงการจัดตั้งสำนักวิชาเภสัชศาสตร์   ได้ผ่านพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2549 เวลา 09.00 น. ณ ห้อง โมคลาน และได้รับการเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 และสภาเภสัชกรรมได้รับทราบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549 ) แล้ว

          หลังจากนั้นได้จัดทำหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ( พ.ศ. 2551) ซึ่งได้เปลี่ยนเป็นการเรียนการสอน 6 ปี เป็นระยะเวลา 3 ปี แล้วได้มีการปรับหลักสูตรให้เข้ากับมาตรฐานกรอบคุณวุฒิทางการศึกษา (มคอ.) เป็นหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ. 2554