ด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีนโยบายรับสมัครนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่าของโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ รอบที่ ๒ โควตาพื้นที่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๘ โดยใช้คะแนนสอบ TGAT และ คะแนน A-Level ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีนโยบายการให้โอกาสทางการศึกษา มีความเสมอภาคทางเพศในการรับเข้าศึกษา มีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับทุกเพศสภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเพศหญิงได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาเท่าเทียมกับเพศสภาพอื่น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครเพื่อเข้าศึกษาในสำนักวิชาเภสัชศาสตร์
๑.๑ เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเภสัชกรรมและมีศักยภาพในการเข้าศึกษาต่อในสำนักวิชา
เภสัชศาสตร์ ประเมินโดยคณะกรรมการประเมินทัศนคติต่อวิชาชีพเภสัชกรรมของสำนักวิชา
เภสัชศาสตร์ตามรูปแบบที่กำหนด
๑.๒ เป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีปัญหาทางสายตาที่อาจส่งผลต่อ
การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในอนาคต
๑.๓ เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะไปปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
ตามระเบียบของทางราชการ เรื่องการปฏิบัติงานชดใช้ทุน สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร
เภสัชศาสตรบัณฑิต โดยผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ จะต้องทำสัญญา
กับรัฐบาล เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามประกาศของสถาบัน
พระบรมราชชนกและกระทรวงสาธารณสุข
๑.๔ ต้องเป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพสมบูรณ์ กล่าวคือ ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถ และจิตฟั่นเฟือน
ไม่สมประกอบ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
(๑) มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
(๒) มีปัญหาทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต (psychosis) โรคประสาทรุนแรง (severe neurosis) หรือ
โรคบุคลิกภาพแปรปรวนโดยเฉพาะ antisocial personality หรือ borderline personality
รวมทั้งปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรม
(๓) เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรค
ต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เช่น โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง
(๔) มีความผิดปกติในการได้ยิน หูหนวก หรือหูตึงแม้เพียงข้างใดข้างหนึ่ง โดยมีระดับของการได้ยิน
สูงกว่า ๔๐ dB ที่ความถี่ ๕๐๐-๒,๐๐๐ Hz จากความผิดปกติทางประสาทการได้ยิน (sensory neural hearing loss) ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
(๕) โรค หรือความพิการอื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค
ตรวจบางอย่างเพิ่มเติมได้
๒. จำนวนรับ คุณสมบัติด้านการศึกษา และวิธีการคัดเลือก
จำนวนรับ (คน) | องค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือก (ร้อยละ) | ||||||
TGAT | A-Level / รหัสวิชา / รายวิชา | ||||||
รหัสวิชา ๖๑ คณิตศาสตร์ประยุกต์ ๑ | รหัสวิชา ๖๔ ฟิสิกส์ | รหัสวิชา ๖๕ เคมี | รหัสวิชา ๖๖ ชีววิทยา | รหัสวิชา ๘๒ อังกฤษ | ผ่านการประเมินทัศนคติ | ||
๓๐ | ๒๐ | ๒๐ | ๔๐ | ผ่าน |
หมายเหตุ ผู้สมัครจะต้องเป็นนักเรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ทั่วไป หรือแผนการเรียนพิเศษที่เน้นวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์เฉพาะทาง หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพที่สามารถเทียบเคียงได้ โดยคณะกรรมการคัดเลือกประจำสำนักวิชาจะเป็นผู้พิจารณา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ๕ ภาคเรียนขึ้นไปของกลุ่มวิทยาศาสตร์ ≥ ๓.๒๕ และกลุ่มคณิตศาสตร์ ≥ ๓.๒๕ และกลุ่มภาษาต่างประเทศ ≥ ๓.๒๕
๓. การรับสมัครและหลักฐานการสมัคร
ผู้สมัครจะต้องนำเข้าข้อมูลการรับสมัครผ่านอินเตอร์เน็ต โดยผู้สมัครสามารถเข้าศึกษารายละเอียดพร้อมทั้งกรอกใบสมัครออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ http://entry.wu.ac.th และปฏิบัติตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ ตั้งแต่วันที่
๑๔ กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๘ โดยนักเรียนจะต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วนพร้อมทั้ง Upload เอกสารดังนี้
๓.๑ แบบสรุปรายการเอกสารที่ต้องรวบรวม จำนวน ๑ ชุด
๓.๒ สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (๕ ภาคเรียนขึ้นไป) ทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด
๓.๓ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน ๑ ชุด
๓.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ชุด
โดยเอกสารทั้งหมดนี้ไม่ต้องจัดส่งมายังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่นักเรียนสามารถนำเอกสารต้นฉบับมาประกอบการพิจารณาในวันประเมินทัศนคติฯ ได้
๔. กำหนดการรับสมัคร
มหาวิทยาลัยกำหนดการรับสมัครและรายละเอียดของการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รอบที่ ๒ โควตาพื้นที่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๘ ดังนี้
กิจกรรม | ช่วงเวลา |
๑. เปิดรับสมัครออนไลน์ และชำระค่าสมัคร | ๑๔ กุมภาพันธ์ – ๑๘ เมษายน ๒๕๖๘ |
๒. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินทัศนคติต่อวิชาชีพเภสัชกรรม | ๒๒ เมษายน ๒๕๖๘ |
๓. ประเมินทัศนคติต่อวิชาชีพเภสัชกรรม | ๒๕ เมษายน ๒๕๖๘ |
๔. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | ๒๙ เมษายน ๒๕๖๘ |
๕. ส่งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกไปยัง ทปอ. | ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘ |
๗. ผู้ผ่านการคัดเลือกยืนยันสิทธิ์ กับระบบของ ทปอ. ผ่านเว็บไซต์ http://entry.wu.ac.th | ๒ – ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๘ |
๘. ชำระเงินยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา ผ่านเว็บไซต์ https://entry.wu.ac.th | ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ |
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง
๕. เงื่อนไขผูกพันการเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์
ก่อนเข้าศึกษา ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง จะต้องทำสัญญากับรัฐบาล เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามประกาศของสถาบันพระบรมราชชนกและกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตามการชดใช้ทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น
๖. เงื่อนไขต่าง ๆ ในการคัดเลือกเข้าศึกษา
๖.๑ หากมหาวิทยาลัยตรวจสอบพบภายหลังว่า เอกสารการสมัครไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ หรือผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามประกาศของมหาวิทยาลัย จะถือว่าการสมัครครั้งนี้เป็นโมฆะและจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการยืนยันสิทธิ์ให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ
๖.๒ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์แล้ว มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อไปยังที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เพื่อเข้าระบบ (ทปอ.) Clearing house และผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องเข้าไปยืนยันการเข้าศึกษาในเว็บไซต์ https://www.mytcas.com/
๖.๓ ผู้ที่ประสงค์จะสละสิทธิ์ จะต้องดำเนินการแจ้งสละสิทธิ์ผ่านระบบของส่วนกลาง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะไม่คืนเงินค่ายืนยันสิทธิ์ที่ได้ชำระให้กับมหาวิทยาลัยไม่ว่ากรณีใด ๆ
๖.๔ มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการรับนักศึกษาในหลักสูตรที่นักศึกษายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาน้อยกว่า ๑๐ คนและจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
๖.๕ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะต้องสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา ๒๕๖๗
๖.๖ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะต้องผ่านการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลของรัฐ ตามรายการที่สำนักวิชาเภสัชศาสตร์กำหนดภายในระยะเวลา ๑ เดือนก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๘