แสดงความยินดี ผศ.ดร.น้ำฟ้า เสริมแก้ว และ ดร.ธิพาพรรณ พลายด้วง อาจารย์สำนักวิชาเภสัชศาตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผลงานการวิจัยของอาจารย์เภสัช มวล. “ไฮโดรเจลจากสารสกัดฟักข้าวสำหรับทากลางคืน” ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ธิพาพรรณ พลายด้วง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฟ้า เสริมแก้ว สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในโอกาสที่ผลงานวิจัยเรื่อง “ไฮโดรเจลจากสารสกัดฟักข้าวสำหรับทากลางคืน” ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร

การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาไฮโดรเจลบำรุงผิวสำหรับทากลางคืน ประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าวที่ได้จากการแช่หมักเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวแห้ง ซึ่งสูตรตำรับใหม่นี้ผ่านการทดสอบแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ และมีคุณสมบัติช่วยให้ผิวขาวขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้น และลดเลือนริ้วรอยได้ดี หากต้องการติดต่อเพื่อเอานวัตกรรมนี้ไปใช้ สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ อาจารย์ ดร.ธิพาพรรณ พลายด้วง สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือที่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำหรับงานวิจัยดังกล่าวนี้ ได้ตอบรับตีพิมพ์ในวารสารในระดับ Q2 แล้ว ซึ่งอยู่ในกระบวนการรอเผยแพร่ออนไลน์ต่อไป

ประวัติของนักวิจัย

  1. ดร.ธิพาพรรณ พลายด้วง

การศึกษา

คุณวุฒิ สาขาวิชา/สถาบันการศึกษา ปี พ.ศ.
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2557
เภสัชศาสตรบัณฑิต

(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)

– / มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2551

 ประสบการณ์การทำงาน 

ตำแหน่งงาน – องค์กรหรือหน่วยงาน ปี พ.ศ.
อาจารย์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2557 – ปัจจุบัน

 ความเชี่ยวชาญ

1) การพัฒนาสูตรตำรับยา อาหารเสริม และเครื่องสำอางจากสมุนไพร

2) เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม

3) ระบบนำส่งยา

ผลงานทางวิชาการ

1) Sermkaew, N., Plyduang, T. (2020). Self-microemulsifying drug delivery systems of Moringa oleifera extract for enhanced dissolution of kaempferol and quercetin. Acta Pharmaceutica, 70, 77-88.

2) Plyduang, T., Aminan, A., Movellan, J., England, R.M., Wiwattanapatapee, R., Vicent, M.J. (2018). Polyacetal-based combination therapy for the treatment of prostate cancer, Macomolecular Rapid Communications, 39, 1-6.

3) Sermkaew, N., Plyduang, T., Sakunpak, A. (2017). Sustained release multiparticulate oral drug delivery system of Piper betle leaf extract. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences (5th IPNaCS Conference issue), 41, 57-60.

 

  1. ผศ.ดร.น้ำฟ้า เสริมแก้ว

การศึกษา

คุณวุฒิ สาขาวิชา/สถาบันการศึกษา ปี พ.ศ.
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2556
เภสัชศาสตรบัณฑิต

(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)

– / มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2551

 ประสบการณ์การทำงาน 

ตำแหน่งงาน – องค์กรหรือหน่วยงาน ปี พ.ศ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2560 – ปัจจุบัน
อาจารย์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2557 – 2560

 ความเชี่ยวชาญ

1) Pharmaceutical Technology

2) Drug Delivery Systems

ผลงานทางวิชาการ

1) Sermkaew, N., Plyduang, T. (2020). Self-microemulsifying drug delivery systems of Moringa oleifera extract for enhanced dissolution of kaempferol and quercetin. Acta Pharmaceutica, 70, 77-88.

2) Petchsomrit, A., Sermkaew N., Wiwattanapatapee, R. (2018). Self-microemulsifying, reconstituted granules for oral administration of curcumin: development and in vitro characterization. Latin American Journal of Pharmacy, 37(4), 740-747.

3) Sermkaew, N., Plyduang, T., & Sakunpak, A. (2017). Sustained release multiparticulate oral drug delivery system of Piper betle leaf extract. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences (5th IPNaCS Conference issue), 41, 57-60.