ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ลิตวดี เจือบุญ ในโอกาสได้รับการรับรองมาตรฐานความรู้ระดับ Fellow (FHEA) ใน UKPSF

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ลิตวดี เจือบุญ ในโอกาสที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความรู้ในระดับ Fellow หรือ FHEA จาก The Higher Education Academy ใน The UK Professional Standards Framework หรือ UKPSF ซึ่ง เป็นมาตรฐานทางด้านการศึกษาในระดับนานาชาติ อาจารย์ ดร.ลิตวดี เจือบุญ เป็นบุคลากรสายวิชาการ (อาจารย์) ของสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในลำดับที่ 20 ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความรู้ในระดับ Fellow หรือ FHEA จาก The Higher Education Academy ใน The UK Professional Standards Framework หรือ UKPSF

ปัจจุบันอาจารย์ ดร.ลิตวดี เจือบุญ เป็นอาจารย์สอนในระดับชั้น Pre-clinic, สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ (Pharmaceutical Sciences) สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Enzyme engineering, Mechanistic และ molecular enzymology, Biocatalysis ใน sugar conversion, Stopped-flow technique ในการศึกษา enzyme reaction mechanism, HPLC และ GC techniques (อาทิ LC–ESI-QTOF-MS, HPLC-MSMS, HPLC-RI, GC-FID, และ GC-MS) โดยมีความสนใจเกี่ยวกับเอนไซม์ที่มีประโยชน์ในการเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ทางยาหรือสารเคมีที่มีมูลค่าสูง (Enzymes for biocatalysis applications)นอกจากนี้ อาจารย์ ดร.ลิตวดี เจือบุญ ยังมีผลงานทางด้านวิชาการที่โดดเด่นที่ได้รับการตีพมพ์ในวารสารทางวิชาการชั้นนำ อาทิ เช่น One-Pot Bioconversion of L-Arabinose to L-Ribulose in an Enzymatic Cascade. Angewandte Chemie (IF=12.102), Enzymatic fuel cells with an oxygen resistant variant of pyranose-2-oxidase as anode biocatalyst. Biosensors and Bioelectronics (IF= 8.173), และ The Mechanism of Sugar C−H Bond Oxidation by a Flavoprotein Oxidase Occurs by a Hydride Transfer Before Proton. (IF= ‎5.160) ซึ่งอาจารย์ ดร.ลิตวดี เจือบุญ มีบทบาทสำคัญในการทำวิจัยกับทีมต่าง ๆ เช่น พัฒนาโจทย์วิจัยด้านการใช้เอนไซม์สำหรับเปลี่ยนชีวมวล เป็นสารมูลค่าสูงทางเภสัชกรรม สำหรับอุตสาหกรรมปาล์ม โดยดำเนินการร่วมกับทีมวิจัยในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ได้พัฒนาโจทย์วิจัย ด้าน Engineering enzyme/ Enzyme kinetic เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารเคมีที่มีมูลค่ากับสถาบันวิทยสิริเมธีอีกด้วย