ขอแสดงความยินดี อ.ศุภลักษณ์ ไพศาล และ ผศ.ดร.กรวิทย์ อยู่สกุล อาจารย์สำนักวิชาเภสัชฯ ได้รับการตีพิม์ผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนการเคมีสีเขียวสำหรับการสกัดบัวบกปราสจากสีเขียว

ขอแสดงความยินดี อ.ศุภลักษณ์ ไพศาล และ ผศ.ดร.กรวิทย์ อยู่สกุล อาจารย์สำนักวิชาเภสัชฯ ได้รับการตีพิม์ผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนการเคมีสีเขียวสำหรับการสกัดบัวบกปราสจากสีเขียว

การสกัดใช้ตัวทำละลายยูเทคติกธรรมชาติและการสกัดด้วยไมโครเวฟเพื่อให้ได้สารสกัดที่มีเอเชียติโคไซด์ (asiaticoside) และมาเดคาสโซไซด์สูงและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ตัวทำละลายยูเทคติกธรรมชาติประกอบด้วย acetylcholine chloride กรดมาลิก และน้ำ มีประสิทธิภาพการสกัดดีที่สุด สกัดสารมาเดคาสโซไซด์ได้ 21.7 มก./ก. และสารเอเชียติโคไซด์ 12.7 มก./ก. ผงแห้งบัวบก การสกัดมีประสิทธิภาพมากกว่าตัวทำละลาย 80% เอทานอล นอกจากนี้สารสกัดจากกระบวนการนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดที่เตรียมโดยใช้น้ำและเอทานอล นอกจากนี้สีของผลิตภัณฑ์สกัดไม่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ปนเปื้อน การศึกษาพื้นที่ผิวผิวตอบสนองวิเคราะห์ข้อมูลด้วย design expert ปัจจัยที่มีต่อการสกัดเป็นแบบจำลองกำลังสอง การตรวจสอบแบบจำลองแสดงให้เห็นความแม่นยำมากกว่า 80% งานวิจัยนี้นำเสนอกระบวนการสีเขียวที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสกัดบัวบกโดยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยและไม่มีตัวทำละลายอินทรีย์

ผลงานวิจัยของ อ.ศุภลักษณ์ ไพศาล และ ผศ.ดร.กรวิทย์ อยู่สกุล สนับสนุนทุนวิจัยโดยทุนวิจัยประเภทบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผลงานวิจัยได้รับตอบรับตีพิมพ์ในวารสาร RSC Advances (IF 3.119) Development of a colorless Centella asiatica (L.) Urb. extract using a natural deep eutectic solvent (NADES) and microwave-assisted extraction (MAE) optimized by response surface methodology