เกี่ยวกับสำนักวิชา2

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมด ของมหาวิทยาลัยเป็นอุทยานการศึกษา “เฉลิมพระเกียรติ” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชใน วโรกาสฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี “กาญจนาภิเษก” ที่จัดให้มีองค์ประกอบของอุทยานเป็น 11 อุทยาน ประกอบด้วย อุทยาน เทอดพระเกียรติ อุทยานสัมมนาและสาธิต อุทยานไทยทักษิณ อุทยานธรรมนิทัศน์ เขตการศึกษา อุทยานพฤกษศาสตร์ วนอุทยาน อุทยานโบราณคดี อุทยานสิ่งแวดล้อม และอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในเขตการศึกษานั้นมี “ศูนย์การแพทย์” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ด้วยศูนย์การแพทย์นี้จะเป็นแหล่งให้การศึกษา วิชาชีพเฉพาะแก่นักศึกษาแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เภสัชศาสตร์ กายภาพบำบัดและอื่นๆ และยังกำหนดให้บริการและวิจัยทางการแพทย์ด้วย ประกอบกับความต้องการของชาวนครศรีธรรมราชที่จะให้สำนักวิชาแพทยศาสตร์ และสำนักวิชา / หลักสูตรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาระบบสุขภาพ” ขึ้น (โดยร่วมกับประชาชนและจังหวัดนครศรีธรรมราช) โครงการดังกล่าวนี้จะเป็นการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่

  1. การผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ (ให้กระทรวงสาธารสุข) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลระดับต่างๆ ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนที่มีอยู่แล้วในจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การส่วนบริหารตำบล
  2. เพื่อกระจายบุคลากรเหล่านี้ลงในพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง (โดยบัณฑิตใช้ทุนซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. และ อบต.)
  3. เพื่อวิจัยศึกษากระบวนการบริการสุขภาพต้นแบบในระดับปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ที่อื่นได้ด้วย

ดังนั้นการจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพนี่จะเน้นการพัฒนาในจังหวัดนครศรี ธรรมราชและภาคใต้ตอนบนก่อน โดยมีการจัดโครงสร้างขององค์กรในการบริหารจัดการโครงการ เพื่อประสานงานแบบองค์รวมในลักษณะ “วิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ” และองค์กรดำเนินการเป็น “สำนักวิชาใหม่” และสำนักวิชาเดิม และ “สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ที่เชื่อมโยงกับองค์กรหลักที่มีอยู่แล้วได้แก่สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาโครงการดังกล่าวนี้จะทำการผลิตและกระจายแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ขาดแคลนและกระจายลงในพื้นที่ที่ต้องการบุคลากรเหล่า นี้อย่างทั่วถึงในจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน พร้อมกันนี้ก็จะศึกษาวิจัยรูปแบบการบริหารสุขภาพแก่ชุมชนในระดับรากหญ้า (ปฐมภูมิ) ให้มีประสิทธิภาพจนสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในพื้นที่อื่นได้ =โดยที่ประชุมคณะกรรมการวิทยาการสุขภาพในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ที่ประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 เวลา 13.00 น. ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2548 เวลา 09.00 ณ ห้องโมคลานชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาระบบสุขภาพของมหาวิทยาลัย และโครงสร้างองค์กรซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสำนักวิชาใหม่ (สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์)
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสำนัก วิชาใหม่เพิ่มเติม และได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรเภสัชบัณฑิต ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ 202/2548 เพื่อทำหน้าที่จัดทำและพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549 ซึ่งประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้

  1. นายแพทย์ยุทธนา ศิลปรัสมี ที่ปรึกษา
    2. รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต ที่ปรึกษา
    3. ศ.ดร.สมพล ประคองพันธ์ ประธานกรรมการ
    4. รศ.ดร.พาลาภ สิงหเสนี กรรมการ
    5. รศ.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสงข์ กรรมการ
    6. ผศ.ดร.อรุณพร อิฐรัตน์ กรรมการ
    7. รศ.ดร.เพชรัตน์ พงษ์เจริญสุข กรรมการ
    8. ศ.ดร.ธีระยุทธ กลิ่นสุคนธ์ กรรมการ
    9. รศ.ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา กรรมการ
    10.ผศ. ดร.มารวย เมฆานวกุล กรรมการ
    11.รศ.ดร.ทวีพร สิทธิราชา กรรมการและเลขานุการ
    12. นางสาวพรพิมล ปัญญา ผู้ช่วยเลขานุการ

          โดยหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) และโครงการจัดตั้งสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ได้ผ่านการพิจารณาจากสภาวิชาการ ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2548 โดยคณะทำงานได้จัดทำการศึกษาวิจัยการขอเปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตที่สอด คล้องกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 9 และศึกษาข้อมูลรายละเอียดของเภสัชกรคู่สัญญา เพิ่มเติมเพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต่อไป โดยหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ 2549) และโครงการจัดตั้งสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ได้ผ่านพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2549 เวลา 09.00 น. ณ ห้องโมคลาน และได้รับการเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 และสภาเภสัชกรรมได้รับทราบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549 ) แล้ว