แนะนำอาจารย์ใหม่ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มวล. ประจำเดือน มิถุนายน 2563

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแนะนำอาจารย์ใหม่ ประจำเดือน มิถุนายน 2563 จำนวน 3 คน

(1) อาจารย์ เภสัชกร ดร.สุริยน อุ่ยตระกูล

อาจารย์ เภสัชกร ดร.สุริยน  อุ่ยตระกูล  จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เริ่มงานเป็นอาจารย์ครั้งแรกในสำนักวิชาเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ด้วยมีความสนใจเป็นพิเศษเรื่องการบริบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง  จึงลาออกไปศึกษาต่อปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์โรคมะเร็ง (Cancer Sciences) ณ มหาวิทยาลัยกลาสโกว (University of Glasgow)  และปริญญาเอกสาขาการศึกษาโรคมะเร็ง (Cancer Study) ณ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University)  สหราชอาณาจักร เมื่อกลับมาปฏิบัติงานที่สำนักวิชาเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อีกครั้ง  อาจารย์สุริยนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนางานวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับโรคมะเร็ง  โดยเฉพาะงานวิจัยเวชศาสตร์ปริวรรต (translational medicine) เพื่อนำองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมาสู่การรักษาผู้ป่วยจริงในโรงพยาบาล (from bench to bed)  นอกจากนั้นยังมีความตั้งใจจะพัฒนางานเภสัชกรรมโรคมะเร็ง ณ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และโรงพยาบาลเครือข่ายอีกด้วย

 

(2) อาจารย์ เภสัชกร ภูวดล หมื่นระย้า

อาจารย์ เภสัชกร ภูวดล หมื่นระย้า เป็นบัณฑิตเภสัชศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งในระหว่างศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Bacterial cellulose สำหรับควบคุมการปลดปล่อยตัวยา และมีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมในการผลิตยา การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพของยาจากบริษัท T.O.Chemical Industry จำกัด และการวิจัยและพัฒนายาจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่ง อาจารย์ ภก.ภูวดล มีความสนใจทางด้าน Pharmaceutical Biotechnology และ Novel Drug Delivery system

 

(3) อาจารย์ เภสัชกรหญิง ชนากานต์ สิทธิศักดิ์
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ชนากานต์ สิทธิศักดิ์ เป็นบัณฑิตเภสัชศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งในระหว่างศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับ การแยกและคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียจากดินที่มีศักยภาพในการสร้างยาปฏิชีวนะ (Isolation and selection of antimicrobial-producing bacteria from soil samples) ซึ่งอาจารย์ เภสัชกรหญิง ชนากานต์ มีความสนใจทางด้าน Pharmaceutical Biotechnology