หลักสูตรปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Drug and Cosmetics


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง)

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy (Drug and Cosmetics)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร คือ “หลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้อย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง มีทักษะและความสามารถระดับสูงในการเชื่อมโยงความรู้ทางเภสัชกรรมอุตสาหการและวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการวิจัย โดยมุ่งพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่หรือต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณที่ดีงาม”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง มีทักษะและมีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยระดับสูงในสาขาวิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์จากการบูรณาการความรู้สหสาขาวิทยาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของตนเองและการพัฒนาในสาขาวิทยาการด้านยาและเครื่องสำอางในภาพรวมของประเทศ
2) ผลิตนักวิจัยและนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านการวิจัยในสาขาวิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง และมีความสามารถสอนหรือถ่ายทอดความรู้และข้อมูลที่ทันสมัยแก่ผู้อื่นได้
3) ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติหรือสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศ และสากล


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

1. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในศาสตร์วิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง และสามารถบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการวิจัยหรือการปฏิบัติงานได้
2. มีความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
4. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ


แนวทางประกอบอาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) อาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(2) เภสัชกรหรือนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการประกันคุณภาพ ด้านการผลิต ด้านการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก
(3) การศึกษาวิจัยหลังปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ


แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาวิจัยหลังปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อปี 45,000.- บาท

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร
1) หลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 135,000 บาท
2) หลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตร 4 ปี สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 180,000 บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยวิชาที่เรียนตลอดหลักสูตร
1) สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยวิชา (หลักสูตร 3 ปี)
2) สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยวิชา (หลักสูตร 4 ปี)
1. แผนการศึกษาแบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์
    1) แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
1) หมวดวิชาบังคับ
1* หน่วยวิชา
    -รายวิชาสัมมนา 1* หน่วยวิชา
2) วิทยานิพนธ์ 16 หน่วยวิชา
หมายเหตุ * หมายถึง ไม่นับหน่วยวิชา
    2) แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
1) หมวดวิชาบังคับ
1* หน่วยวิชา
   -รายวิชาสัมมนา 1* หน่วยวิชา
2) วิทยานิพนธ์ 24 หน่วยวิชา
หมายเหตุ * หมายถึง ไม่นับหน่วยวิชา
2. แผนการศึกษาแบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์ และการศึกษารายวิชา
  1) แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
1) หมวดวิชาบังคับ
2 หน่วยวิชา
   -รายวิชาบังคับ 2 หน่วยวิชา
   -รายวิชาสัมมนา 1* หน่วยวิชา
2) หมวดวิชาเลือก
2 หน่วยวิชา
3) หมวดวิทยานิพนธ์
12 หน่วยวิชา
หมายเหตุ * หมายถึง ไม่นับหน่วยวิชา
  2) แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
1) หมวดวิชาบังคับ
4 หน่วยวิชา
   -รายวิชาบังคับ 4 หน่วยวิชา
   -รายวิชาสัมมนา 1* หน่วยวิชา
2) หมวดวิชาเลือก
4 หน่วยวิชา
3) หมวดวิทยานิพนธ์
16 หน่วยวิชา
หมายเหตุ * หมายถึง ไม่นับหน่วยวิชา

 


รายละเอียดเพิ่มเติมหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการด้านยาและเครื่องสำอาง

Doctor Pharmacy degree